ข่าวทั่วไป

สุรินทร์ – มทร.อีสาน เปิดนิทรรศการเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน 


สุรินทร์ มทร.อีสานเปิดนิทรรศการเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน เพื่อหาแนวทางในการลดปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจังเป็นผลดีต่อเกษตรกรชาวนาไทย ในงานวันเกษตรและเทคโนโลยีอีสาน ครั้งที่ 10

วันนี้(23 ก.พ. 2566) ที่บริเวณพื้นที่ส่วนเลี้ยงสัตว์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ นายกสภา มทร.อีสาน เป็นประธานเปิดงาน มีรองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน รองศาสตราจารย์ ดร.สำเนา เสาวกูล รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตสุรินทร์ พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและคณาจารย์ มทร.วิทยาเขตสุรินทร์ เข้าร่วมในการเปิด นิทรรศการเพื่อลดการปลดปล่อยมีเทนในงานวันเกษตรและเทคโนโลยีอีสาน ครั้งที่ 10


สำหรับ ภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาใหญ่ที่ถูกพูดถึงมาอย่างยาวนาน และผลกระทบยังคงปรากฏให้เห็นตลอด การพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องสภาพภูมิอากาศของโลก ได้มุ่งความสนใจไปที่ก๊าซที่มีปริมาณมากที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเท่านั้นนั่นคือ คาร์บอนไดออกไซด์ นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเรียกร้องให้มุ่งเน้นไปที่การจัดการก๊าซเรือนกระจกที่ร้ายแรงอีกชนิดหนึ่ง นั่นคือมีเทน และเชื่อว่าเป็นแผนที่ดีที่สุดที่โลกจะทำได้ในตอนนี้เพื่อรับมือภาวะโลกร้อนที่เลวร้ายลงทุกวัน มีเทน เป็นก๊าซเรือนกระจกอันดับที่สองรองจากคาร์บอนไดออกไซด์ที่ส่งผลให้โลกร้อนได้มากที่สุด มีคุณสมบัติที่ทำให้โลกร้อนขึ้นมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 80 เท่า เนื่องจาก 1โมเลกุลของมีเทนมีประสิทธิภาพในการดักจับความร้อนได้มากกว่า 1 โมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ แต่มีเทนที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจะคงอยู่ได้เป็นเวลาสั้นกว่าที่ 12 ปีก่อนที่จะค่อยๆ เสื่อมลง เมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะคงอยู่ในชั้นบรรยากาศได้ยาวนานมากกว่า 100 ปีความพยายามที่จะหันมาลดระดับการปล่อยก๊าซมีเทนลง น่าจะทำได้รวดเร็วกว่าความพยายามลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากทำได้ดังกล่าว ก็จะช่วยชะลอไม่ให้โลกร้อนขึ้นเร็วเกินไปทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการการพัฒนาและวิจัยเพื่อลดการปล่อยมีเทน และโครงการอื่น ๆ ประกอบด้วย โครงการลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลาและแหนแดง โครงการนวัตกรรมอาหารเสริมเพื่อลดการผลิตก๊าซมีเทนในโคเนื้อคุณภาพสูง โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในแปลงนาข้าว โครงการพัฒนาพื้นที่และประเมินการปล่อยก๊าซมีเทนจากการปลูกข้าวท้องถิ่นสุรินทร์ เพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน อีกทั้งได้ดำเนินการโครงการการเลี้ยงปลาในนาข้าวมากว่า 12 ปีมาแล้ว
พร้อมได้จัดนิทรรศการ ในด้านต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์และให้กลุ่มคนที่เข้ามาชมนิทรรศการตระหนักถึงการลดการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างเข้มแข็ง รวดเร็วและยั่งยืนโดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อจัดนิทรรศการรณรงค์ให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซมีเทน เพื่อตระหนักถึงการสร้างสมดุลระหว่างระบบนิเวศต่อการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านการปลดปล่อยก๊าซมีเทน

นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ นายกสภา มทร.อีสานกล่าวว่า หลักการง่ายๆทำอย่างไรเรื่องการจัดการน้ำจัดการเรื่องจุลลินทรีย์ไม่ให้เกิดการหมักขึ้นแม้กระทั่งตัวพันธุ์ข้าวเอง ทาง มทร.อีสานสุรินทร์มีแผนการชัดเจนในระดับจังหวัดต้องทำอะไรบ้างซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเราเลี้ยงปลา ในนาข้าวปลาสามารถลดมีเทนได้ในทางอ้อมปล่อยสารจุลลินทรีย์ที่มันย่อยสลายได้ง่ายหรือเข้าไปเพิ่มอ็อกซิเจนในน้ำ ซึ่งมีกระบวนหลาย ได้ทำมานานแล้ว ช่วงนี้เป็นขั้นตอนการพิสูจน์ว่ามันลดมีเทนได้จริงหรือเปล่า รู้ว่าผลผลิตข้าวก็เพิ่ม เพิ่น 50 % ซึ่งเป็นการทดลองในระดับเล็กปลาก็ยังขายได้อีก รายได้ก็จะเพิ่มส่วนการลดก๊าซมีเทน โดยฤทษฎีน่าจะได้ ส่วนการพิสูจน์จริง ทาง ดร.สำเนาว์ ในพื้นที่ กำลังพิสูจน์กันต่อไป ถ้าทำใด้และลดมีเทนได้พิสูจน์กันได้เกษตรกรเอาไปต่อยอด ได้อยู่แล้วเพราะผลผลิตเพิ่มยังได้ปลาเป็นอาหารรายได้ก็เพิ่มแต่สิ่งที่คิดไปไกลก็ คือมันสามารถลดมีเทนได้จริงหรือเปล่า ถ้าทำได้เหมือนกับว่ายิงปืนนัดเดียวได้ หลายตัวเลยเกษตรไม่ต้องเพิ่มต้นทุนอะไรมาก ปลาก็มีวงจรชีวิตของมันในนาข้าวผู้เชี่ยวชาญอธิบายแล้วเป็นเรื่องน่ายินดี ก๊าชมีเทนกับคุณภาพข้าวประเทศเราต้องเตรียมเรื่องนี้ขณะนี้ข้าวเราขายที่ต่างประเทศได้น้อยลงเราแพ้กัมพูชา เวียดนาม ถ้าเราไม่ทำอะไรที่เป็นฟรีเมียมเป็นพิเศษขึ้นมาข้าวเราเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีการรับรองคุณภาพที่ชัดเจนต้องทำการวิจัย มทร.เป็นผู้นำการวิจัยประเทศเราจะมีสิทธิ์ขายข้าว สมมติใน ีกไม่กี่ปีทางยุโรป อียู หรือสหรัฐอเมริกา บอกว่าต่อไปนี้ข้าวที่มีมีเทนสูงต้องเก็บภาษีเพิ่มหรือไม่ให้ขายอย่างนี้ยกเว้นมีการรับรองเราเสร็จเลยนะครับเหมือสมัยถั่วเหลือง ทีเป็นจีเอ็มโอมาขายไม่ได้ เหตุการอย่างนี้จะเกิดขึ้น ถ้าเราทำตอนนี้ก็จะเป็นผู้นำ ข้าวไทยก็จะตีตลาดขึ้นมาต่างชาติเขาก็ยินดีจ่ายเงินเพิ่มเพื่อชื้อข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน กล่าวว่า ขณะนี้เราได้ผนึกกำลังนักวิจัยรวมพลังนักวิจัยกันเรามีนักวิจัย อยู่ 1200 กว่าคน มี ดร.กว่า 50 คนเอานักวิจัยที่มีความรู้แบบครบวงจร ทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทางทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ใน 5 วิทยาเขตที่กระตัวอยู่ในภาคอีสานเป็นกำลังสำคัญที่จะลงมาช่วยกันทำงาน ช่วยพี่น้องเกษตรกร ในวันนี้เรามีโมเดลของร้อยเอ็ด กับโมเดลของจังหวัดสุรินทร์และยังมีโมเดลของนครราชสีมา ขอนแก่น และสกลนครเป็นสรรพกำลังที่ทำการวิจัยและนวัตกรรมที่มีอยู่ในตอนนี้และหน่วยงานเครือข่ายต่างๆทุกเครื่อข่ายมาทำงานร่วมกัน เรามองภาพทุ่งกุลาร้องไห้ มีพื้นที่กว่า ห้าแสนกว่าไร รวมห้าจังหวัดสองล้านกว่าไร่ เราจะเข้าไปช่วยดูตรงนี้แล้วนอกจากนั้นพื้นที่ 20จังหวัดของภาคอีสานที่ต้องการการพัฒนาการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตมีมาตรฐานส่งออกข้าวได้จากโลมีเทนคือเป้าหมายสำคัญของเราเชื่อว่าศักยภาพของ มทร.อีสานที่กระจายตัวทั่วพื้นที่จะยกระดับความกินดีอยู่ดีของภาคอีสานได้ด้วยนวัตกรรมที่เรากำลังทำกันอยู่ในขณะนี้ในเร็วๆนี้

ทีมข่าว จ.สุรินทร์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *