ข่าวทั่วไป

ตำบลจรัส ติดตั้งไฟส่องสว่าง รองรับการท่องเที่ยวอ่างบ้านทำนบ เชื่อมเส้นทางชมปราสาทใต้น้ำ

15 กันยายน 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายบรรจง เลาหพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจรัส มอบหมายให้เจ้าหน้าทีมช่างเร่งติดตั้งไฟกึ่งโซล่าเซลล์ บริเวณ คันดิน อ่างเก็บน้ำบ้านทำนบเพื่อรองรับพี่น้อง นักท่องเที่ยวต่างถิ่น และในเขตพื้นที่ เยี่ยมชมบรรยากาศ อันบริสุทธิ์ ตามชนบท ในพื้นที่ตามแนวชายแดน ไทยกัมพูชา บรรยากาศตอนนี้น้ำกำลังขึ้น เหมาะกับการนั่งตากอากาศพักผ่อนหย่อนใจ เงียบสงบร่มรื่นเย็นสบายและทิวทัศน์สวย พัฒนาให้เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวช ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และภูเขา มีเสียงน้ำตกไหล่ได้ยินถึงอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ เหมาะกับการกางเต็นท์นอนเพื่อชมบรรยากาศบริสุทธิ์ ยามค่ำคืน สิ่งที่สำคัญเป็นเส้นทางสะดวก อำเภอบัวเชด ตำบลจรัส จังหวัดสุรินทร์ เส้นทางจรัส บ้านโอทะลัน ก็จะผ่านอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ ก่อนถึงบ้านโอทะลัน ต.จรัส อ.บัวเชด จ.สุรินทร์

อ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ ต.จรัส อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ถูกสร้างขึ้นเก็บกักน้ำเพื่อใช้ทางการเกษตรและการอุปโภคบริโภคปัจจุบันมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อเกษตรกรในพื้นตำบลและตำบลข้างเคียงเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และเหมาะสำหรับท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ธรรมชาติสวยงามล้อมไปด้วยภูเขาระยะทางห่างจากอำเภอบัวเชดเพียง20 กิโลเมตร

ในอนาคตอาจมีโครงการ ตามรอยปราสาทเก่า อ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ ต.จรัส อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ที่ทุก ๆปี บางปีที่น้ำในอ่างเก็บน้ำลดก็จะเห็น ชิ้นส่วนของปราสาทให้เรา ๆ ได้พบเห็นชื่อว่าปราสาทโอทะลัน หรืออีกชื่อที่ชาวบ้านเรียกคือ ปราสาทตะเปียงรุน ปัจจุบันอยู่ใต้เขื่อนโอทะลัน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านโอทะลัน ตำบล จรัส อำเภอ บัวเชด จังหวัด สุรินทร์

ปราสาทโอทะลันเคยตกเป็นข่าวฮือฮาเมื่อประมาณหลายปีที่แล้วจากการโผล่ขึ้นมาจากน้ำในเขื่อนที่แห้งแล้ง สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในบัวเชต ซึ่งจุดแรกที่เเอดมินไปคือที่โรงเรียนบ้านโอทะลันซึ่งเป็นสถานที่ที่เก็บชิ้นส่วนปราสาทบางส่วนจากปราสาทโอทะลัน ซึ่งทั้งหมดถูกเก็บในอาคารตำหนักศิวาบรรณาลัย ชิ้นส่วนที่พบก็ได้แก่กรอบประตู แท่นศิวะลึง ธรณีประตู เเละชิ้นส่วนประดับปราสาท ซึ่งคุณครูกมล กางโสภา ได้ให้ข้อมูลว่าในอดีตประมาณก่อนปีพ.ศ. 2530 ปราสาทโอทะลันอยู่กลางป่าลึกมีเถาวัลย์ขึ้นปกคลุม ต่อมามีการสร้างเขื่อนซึ่งก็ได้มีกลุ่มคนเข้าไปทุบทำลายปราสาทเพื่อหาของมีค่า ซึ่งนั่นก็รวมถึงชิ้นส่วนปราสาท ชิ้นส่วนปราสาทที่โรงเรียนโอทะลันเก็บไว้เหล่านี้ทางโรงเรียนต้องไป”ซื้อ”มาจากชาวบ้านที่ไปลักลอบขนออกมา

ไปในเขื่อนประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงตัวเขื่อนก็ต้องเดินต่อไปที่ตัวปราสาทประมาณ 500 เมตร ปราสาทก่อสร้างด้วยอิฐหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทประกอบไปด้วย ปราสาท 3 หลัง กำแพงแก้ว และโคปุระ สภาพปัจจุบันของปราสาทถูกขุดทำลายจนเป็นเนินดิน 3 เนิน ส่วนกำเเพงแก้วก็พังลงมาจนเป็นเนินแนวยาวรูปสี่เหลี่ยม ปัจจุบันชาวบ้านได้นำเศษอิฐและชิ้นส่วนปราสาทหินทรายมารวบรวมไว้ด้านหน้าปราสาทประธานเพื่อเป็นจุดสักการะบูชา.

ภาพ/ข่าว พูนสิน ยั่งยืน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *