ข่าวภูมิภาค

อนุญาตแล้ว ‘นาแห้วโมเดล’ ให้ประชาชนอยู่อาศัย-ทำกินเป็นเวลา 30 ปี

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานจากนายยลชาญ กมลรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ คทช.จังหวัดเลยว่า กรมป่าไม้อนุมัติโครงการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปื่อย ปาภูขี้เถ้า และป่าภูเรือป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำภาค และป่าลำแควน้อยฝั่งซ้าย และป่าสงวนแห่งชาติป่าเนินเพิ่ม พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1และ 2 อ.นาแห้ว จ. เลย

นายบรรณรักษ์ เสริมทองรองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ ลงนามในหนังสือถึง ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) เรื่องโครงการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้าและป่าภูเรือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำภาค และป่าลำแควน้อยฝั่งซ้าย และป่าสงวนแห่งชาติป่าเนินเพิ่ม พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ท้องที่ ต.นามาลา นาพึง นาแห้ว แสงภา และ ต.เหล่ากอหก อ. นาแห้ว จ. เลย เนื้อที่ 101,134 ไร่เพื่อให้กรมป่าไม้พิจารณา ตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 กรมป่าไม้ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการตามโครงการดังกล่าว เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษา หรือบำรุงป่าสงวนแห่งชาติ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 โดยกำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่

พร้อมกับให้ผู้รับผิดชอบ รายงานผลการดำเนินการให้อธิบดีกรมป่าไม้ทราบปีละ 2 ครั้งโดยครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 31 มีนาคม และครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี เพื่อแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในเขตปาสงวนแห่งชาติ

มีวัตถุประสงค์.เพื่อแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ..ตามมติคณะรัฐมนตรี.อาศัยและการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปาสงวนแห่งชาติ.ตามมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ .เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนรักษ์ดิน น้ำ..ป.ให้กับราษฎรในพื้นที่.สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับราษฎร..ร่วมกันฟื้นฟูสภาพปาเสื่อมโทรม..ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ให้คงความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร .ปลูกปา.3.อย่าง..ประโยชน์.4 อย่าง.ให้ราษฎรในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลต้นไม้ที่ปลูกและใช้ประโยชน์จากต้นไม้ที่ปลูกตามระเบียบ..กฎหมาย. และวิถีการที่กรมน่าไม้กำหนด.เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น.มีระบบสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐาน..การศึกษา.สุขภาพ ชุมชนมีรายได้ที่เพียงพอจากการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดต้อม.มีรายได้เสริมจากการพัฒนาที่พักอาศัยเพื่อการนริการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ.เชิงอนุรักษ์.ก่อให้เกิดความร่วมมือกันเจ้าหน้าที่ในการแก้ปัญหาการครอบครองที่ดินทำกิน.หยุดยั้งการบกรกทำลายทรัพยากรปาไม้ในพื้นที่และร่วมมือกันอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำให้มีความยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ ให้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายในระยะเวลา 30 ปี.

ข่าว บุญชู ศรีไตรภพ
ภาพ คสช.เลย ยลชาญ กมลรัตน์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *