ข่าวภูมิภาค

ชาวบ้านมุกดาหาร ร้องบ่อขยะเทศบาลเมือง ส่งกลิ่นเหม็น มากว่า 20 ปี

17 มิ.ย.2566   ผู้สื่อข่าได้รับการร้องเรียนจาก  นาย ศรีสมบัติ  มณีวรรณ อายุ 62 ปี อยู่บริเวณถนนเลี่ยงเมืองอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากบ่อขยะของเทศบาลเมืองมุกดาหาร ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน  และมีแมลงวันจำนวนมาก บางวันได้กลางมุ้งเวลารับประทานอาหาร อยากให้เข้ามาดำเนินการอย่างเร่งด่วน

นาย ศรีสมบัติ  มณีวรรณ ชาวบ้านที่เดือดร้อนจากบ่อขยะของเทศบาลเมืองมุกดาหาร เปิดเผยว่า  ที่ผ่านมา 20 กว่าปีได้รับผลกระทบเรื่องกลิ่นเหม็น แมลงวันจะมาตอมเยอะมาก พอเข้าหน้าฝนก็จะมีน้ำบ่าลงมาผ่านที่ของเรา ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้นไม่งาม เพราะว่ามันเป็นน้ำเสียและสกปรก โดยเฉพาะแมลงวันนี้เยอะมาก กลิ่นก็จะมาอยู่เรื่อง ๆ  จนบางวันได้กางมุ้งกินข้าว รั้วติดกันกับบ่อขยะ ก็เลยทำให้เดือดร้อนเรื่อยมา ทางเทศบาลว่าจะทำอะไรก็ยังไม่ได้ดำเนินการ อยากให้มาช่วยดูแลในจุดนี้ และบ่อน้ำต่าง ๆ ก็ใช้ไม่ได้โดยเฉพาะบ่อบาดาลใช้ไม่ได้ ทำให้เป็นมลภาวะมีปัญหามาตลอด20 ปี ที่ของเราอยู่มาก่อนบ่อขยะก็หนีไปไหนไม่ได้

ส่วนทางเทศบาลเมืองมุกดาหาร จะสร้างโรงไฟฟ้ากำกัดขยะนั้น ตนเองเห็นด้วย 100 %  เพราะว่าเราจะได้กำจัดสิ่งต่าง ๆ นี้ออกไปดังตัวอย่างที่ไปศึกษาดูงานมาแล้ว ก็เห็นด้วยมากเลย อยากให้ดำเนินการเร็ว ๆ เพราะได้ข่าวมาก็เป็นปี 2 ปีแล้วก็ยังเงียบอยู่ ไม่ทราบว่าอยู่ขั้นตอนไหน ก็ได้มาสำรวจชาวบ้านแล้ว ไม่ทราบว่าติดตรงไหนอยากให้ทำเร็ว ๆอีกอย่างบ้านเมือกำลังเจริญความเจริญเข้ามา และวันหนึ่งมีขยะหลายตันที่มาทิ้งตรงนี้ ถ้าเราไม่ดำเนินการบ้านเมืองกำลังเจริญ  อยากให้ทางการช่วยดำเนินการเร็ว ๆ ด้วย… นาย ศรีสมบัติ  มณีวรรณ กล่าว …     

ด้าน นางสุวรรณี ตั้งปณิธานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองมุกดาหาร กล่าวว่า  โครงการโรงไฟฟ้ากำกัดขยะมีหลายบริษัทที่มายื่นซองประมูล แต่ทางเทศบาลอยากให้บริษัทที่มีความสามารถจริง ๆ มาทำ เพราะปัญหาเรามันวิกฤติ ไม่ใช่ว่ามาประมูลได้แล้วเมื่อไหร่จะสำเร็จ ก็เลยกำหนดทีโออาร์ที่มันกว้างไปเลย ใครว่าแน่มาเลยจะเลือกว่าคนที่ฝีมือดี ๆมาทำ และตอนนี้ยังไม่ได้เปิดซอง เพราะว่าตอนนี้ไปติดขบวนการร้องศาลปกครอง เพื่อคุ้มครอง ให้ศาลปกครองเร่งพิจารณาเพื่อเปิดโอกาสให้ทางเทศบาลดำเนินการต่อ เพราะว่าสถานการณ์เดี่ยวนี้มันวิกฤติที่สุด ในระดับจังหวัดด้วยเทศบาลเมืองมุกดาหารเป็นคลัสเตอร์ มีเทศบาลรอบนอกมาทิ้งกับทางเทศบาล รองรับขยะเทศบาลระบบเดิมเป็นระบบฝังกลบจนต้อองเทรวมเป็นถูเขาแล้ว เพราะว่ามันฝังกลบไม่ได้  และช่วงฤดูฝนเชื่อว่าประชาชนเดือดร้อนจะเข้ามาร้องเรียนกับทางเทศบาลจำนวนมาก บ่อขยะขนาดนั้นทางเทศบาลไม่สามารถด้านกลิ่น ต้านทางปัญหาที่มันเกิดปัญหาจากบ่อขยะ

ล่าสุดได้ให้ทำหนังสือเร่งรัดให้ศาลปกครองเร่งพิจารณา เพื่อทางเทศบาลจะได้ดำเนินการต่อ เดินกกหน้าแก้ปัญหาขยะกองนี้ ใช้ระยะเวลาเกือบปีแล้ว ทั้งที่เขายื่นแก้ปัญหาให้เรา รัฐบาลไม่ได้ใช้เงินสักบาทเดียว มีเอกชนที่เขาสนใจจะเข้ามาแก้ปัญหาให้ เป็นประโยชน์กับราชการ เป็นประโยชน์กับบ้านเมือง ประชาชนได้รับประโยชน์ ทำไมมาติดขัดในเรื่องคนที่จะมาแก้ปัญหา

เทศบาลเมืองมุกดาหารต้องรับขยะจากเทศบาลเล็ก เพราะว่ามีพื้นที่เยอะกว่าเราจำเป็นต้องรับ รับแล้วมาปัญหาเฉพาะหน้า และทางเทศบาลก็ต้องทนที่ประชาชนต่อว่า ว่าทำไมมีกลิ่นมีแมลงวัน มีปัญหาที่แก้ยาก เพราะปัญหามันวิกฤติปัญหาอันใหญ่หลวงประชาชนสะท้อนมาปัญหาความเดือดร้อน ต้องยอมรับว่ามันบกพร่องที่เรา แก้ปัญหาไม่ได้ แต่เราก็พยายามที่จะเดินหน้าแก้ปัญหาคือ ให้เอกชนมากำจัดขยะของเทศบาลเมืองมุกดาหาร..นางสุวรรณี กล่าว ..

สำหรับบ่อกำจัดขยะของเทศบาลเมืองมุกดาหาร บนพื้นที่กว่า 40 ไร่ มีขยะตกค้างกว่า 4 แสนตัน ขยะถูกฝังกลบทับซ้อนกันหลายชั้น และเริ่มเต็มพื้นที่จัดเก็บ เพราะเป็นที่รองรับขยะจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงกว่า50 แห่ง รองรับขยะมากกว่าวันละ 60 ตัน กว่า 20 ปีที่บ่อกำจัดขยะแห่งนี้รองรับขยะมูลฝอยจากครัวเรือน แต่เมื่อปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นทำให้เริ่มส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งมลภาวะด้านกลิ่นเหม็น แมลง และในช่วงหน้าฝนน้ำจากกองขยะก็จะไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร และ บ้านเรือนที่อยู่ติดบ่อขยะจนได้รับความเดือดร้อน 

ทั้งนี้ บ่อกำจัดขยะของเทศบาลเมืองมุกดาหารแห่งนี้ ติดปัญหาในข้อกฏหมาย  ในรูปแบบการก่อสร้าง เพราะบริษัทเอกชนได้ยื่นขอคุ้มครองชั่วคราวจากศาลปกครองในขั้นตอนการประมูลงาน โดยอ้างถึงการแข่งขันกลับอาจไม่เป็นธรรม  ทั้งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วยให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะแบบปิด และ กระทรวงมหาดไทยก็ให้ความเห็นชอบให้ทุกฝ่ายเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะความทุกข์ของชาวบ้าน รอไม่ได้ 

เทศบาลเมืองมุกดาหารพยายามแก้ไขปัญหาขึ้นโดยเสนอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะแบบปิด ซึ่งผ่านการทำประชาคมของชาวบ้าน และ กระทรวงมหาดไทยก็ให้ความเห็นชอบ เมื่อปี 2564 แต่ปัจจุบันยังติดปัญหา 1 ใน 3 บริษัทเอกชนที่ยื่นซองประมูลงานได้ฟ้องศาลปกครองขอคุ้มครองชั่วคราว โดยอ้างถึงรายละเอียดรูปแบบการก่อสร้างหรือ ทีโออาร์ อาจเอื้อประโยชน์ต่อบางบริษัท และ ขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรม  

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะแบบปิด ของเทศบาลเมืองมุกดาหาร งบประมาณก่อสร้างกว่า 1,800 ล้านบาท กำลังการผลิตขนาด 9.9 เมกะวัตต์ มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในปี 2568-2569 แต่การชะลอการประมูลงานออกไป ทำให้ชาวบ้านตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบยังเป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้บ่อขยะ จึงเรียกร้องให้ทุกหน่วยงานเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น.

อนุศักดิ์ – เสาวภา  แสนวิเศษ รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *