ข่าวทั่วไป

กกล.สุรนารี ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรักษานักรบกล้าอีสาน เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทหารกล้าชายแดน

6 พ.ค.2566 เวลา 09.09 น.ที่บริเวณพิธี หน้ากองบัญชาการกองกำลังสุรนารี ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระพรหมวชิโสภณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดประธานฝ่ายฆราวาส ประกอบ พิธีเททองหล่อพระพุทธรักษานักรบกล้าอีสาน (องค์จำลอง) พร้อมด้วยพลเอก กิตติศักดิื บุญพระธรรมชัย ที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพบก พลโทสวราชย์ แสงผล แม่ทัพภาคที่ 2 พลเอกสมชาย เพ็งกรูด โดยมีพลตรีวีระยุทธ รักศิลป์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 และกองกำลังสุรนารี ได้จัดสร้างพระพุทธรักษานักรบกล้าอีสานเพื่อมอบให้หน่วยต่างๆ ของกองพลทหารราบที่ 6 และ กองกำลังสุรนารี เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำลังใจให้กับกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่งคงตามแนวชายแดน โดยมีข้าราชการ หน่วยงานทหาร ตำรวจ ในพื้นที่และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมพิธีเททองหล่อพระพุทธรักษานักรบกล้าอีสาน (องค์จำลอง) เป็นจำนวนมาก

ในการประกอบพิธี ได้มีพิธีบวงสรวงเทพยดาบูชาฤกษ์ พราหมณ์พิธี ร่ายโองการอัญเชิญ, โองการสรรเสริญ, โองการเทพชุมนุมพิธีเททองหล่อพระพุทธนักรบกล้าอีสาน พระคณาจารย์ 4 รูป นั่งบนธรรมาสน์ ประจำจตุรทิศ พระสงฆ์ 9 รูป ประธานสงฆ์ เจิม จุดเทียนชัย ประธานสงฆ์ และ ประธาน พร้อมคณะ ขึ้นแท่นเททอง จับด้ามกระบวยผู้ร่วมพิธีจับสายสิญจน์ (พราหมณ์พิธี อัญเชิญพานชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ลงในกระบวย) ประธาน เทชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ลงในเบ้าหลอม พระสงฆ์ เจริญชัยมงคลคาถา โปรยข้าวตอกดอกไม้ ที่หุ่นเบ้าหล่อ ประธานสงฆ์ ดับเทียนชัย

ซึ่งความเป็นมาของการจัดสร้าง พระพุทธรักษานักรบกล้าอีสาน ในอดีตเมื่อปี 2529-2530 ที่ไทยถูกคุกคามด้วยระบอบคอมมิวนิสต์เข้าแทรกซึมและไทยเป็นเป้าหมายต่อไปตามทฤษฎี โดย ในพื้นที่ช่องบกจึงเป็นสมรภูมิรบสำคัญ เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามได้ใช้กำลังเข้ายึดครองเนิน 500 ซึ่งถือว่าเป็นภูมิเทศสำคัญเพื่อเตรียมรุกเข้ายึดครองประเทศไทยต่อไป ทหารไทยได้เสียสละเลือดเนื้อ และชีวิตจำนวนนับร้อยคนเข้าตีเพื่อช่วงชิงพื้นที่ที่เป็นอธิปไตยของไทยกลับมา ภายใต้การบัญชาการรบของ พล.ท. อิสระพงศ์ หนุนภักดี แม่ทัพภาคที่ 2 ในขณะนั้น และเมื่อสิ้นสุดการรบ ทหารในพื้นที่ จึงพร้อมใจกันสร้าง “ศาลาอิสระภักดี” เป็นอนุสรณ์เพื่อประดิษฐาน พระพุทธรักษานักรบกล้าอีสาน ให้เหล่านักรบ และประชาชนในพื้นที่สักการะบูชา เป็นที่เคารพบูชา รวมถึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่ สมรภูมิช่องบก – เนิน 500 จังหวัดอุบลราชธานี ในคราวนั้นได้มีการจำลอง “พระพุทธรักษานักรบกล้าอีสาน” ขึ้นมาขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว และ 7 นิ้ว ตามลำดับ มอบให้เหล่าทหาร เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนั้น

นพรัตน์  กิ่งแก้ว รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *