สถานีควบคุมไฟป่าห้วยทับทัน – ห้วยสำราญ ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้รับรู้ปัญหาไฟป่า
สุรินทร์ -สถานีควบคุมไฟป่าห้วยทับทัน – ห้วยสำราญ ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้รับรู้ปัญหาไฟป่า
ปัญหาหมอกควัน เป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีเมื่อล่วงเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง และมีแนวโน้มของความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบว่ามีปริมาณฝุ่นและหมอกควันสูงเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจในขณะที่สาเหตุหลักของปัญหาหมอกควันเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกันไม่ว่าจะเป็น ไฟป่า ฝุ่นละอองจากถนน การก่อสร้าง ควันและเขม่าจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของยานพาหนะประเภทต่างๆ รวมไปถึงสภาพของความกดอากาศในขณะนั้น ประกอบกับสภาพภูมิประเทศ ทำให้มลพิษต่างๆ ถูกกักไว้และแผ่ปกคลุมทั่วไปสิ่งเหล่านี้นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาได้แล้ว ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง “คนเมือง” กับ “คนชนบท” ระหว่าง “เกษตรกร” กับ “ภาครัฐ” ที่ส่งผลกระทบขยายวงกว้างไปสู่การดำเนินงานด้านอื่นๆ ด้วยเหตุนี้สถานีควบคุมไฟป่าห้วยทับทันห้วย- สำราญ จึงได้ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์เพื่อสลายความขัดแย้งสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดเป็นนโยบายและแผนงานการจัดการปัญหาไฟป่าและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยมีส่วนร่วมของชุมชน งานที่ทำร่วมกับชุมชนก็คือพัฒนากระบวนการเรียนรู้เรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน เพราะว่าไฟป่ามีความสัมพันธ์กับทรัพยากรและวิถีชีวิตของชาวบ้าน ทำอย่างไรให้ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่ามีความเข้มแข็ง ให้เขารู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าภาพที่ต้องร่วมกันแก้ปัญหา ไม่เหมือนในอดีตที่ชาวบ้านจะโยนความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่นหากเกิดไฟป่าก็จะให้ศูนย์ไฟป่ามาดูแล ซึ่งกันลงประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้รับรู้ในครั้งนี้ได้ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของชุมชนที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจายในป่า เป็นเครือข่ายระบบนิเวศน์ผืนใหญ่ที่มีพลังในการจัดการกับปัญหาทรัพยากรชุมชนและไฟป่าได้มากขึ้น โดยประสานความร่วมมือกับภาครัฐบนพื้นฐานของความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ดังนั้นทางสถานีควบคุมไฟป่าห้วยทับทันห้วย- สำราญ จึงได้ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้กับชาวบ้านได้รับทราบที่ศาลากลางหมู่บ้านและลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ตามหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงปัญหาต่างๆ รวมถึงประชาสัมพันธ์ด้านโทษที่มีความผิดกฎหมายค่อนข้างหนัก เพราะมีอัตราโทษปรับตั้งแต่ 4 แสนถึง 1 ล้านบาท และให้เช่าบ้านช่วยเป็นหูเป็นตาในการเข้าช่วยเหลือหรือแจ้งมาได้ที่ สายด่วน 1362
นางจันทร์เพ็ญ โคตรโนนกอก อายุ 53 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10ได้กล่าวกับทีมข่าวว่า ก็ถือว่าเป็นสิ่งดีที่ทางศูนย์ไฟป่าได้มาช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับชาวบ้านได้รับทราบ ชาวบ้านก็จะได้ได้เข้าไประงับได้ทัน เครื่องมือที่ทางไฟป่ามามอบให้ก็จะเป็นพวกไม้ตีพวกถังไว้เวลาเกิดเหตุ ส่วนมากคนในชุมชนจะไม่มีปัญหาเรื่องการจุดไฟ ส่วนมากจะมีแต่คนจากที่อื่นเข้ามา มาเพื่อหวังผลประโยชน์เท่านั้น คนในชุมชนอยู่ร่วมกับป่าเพราะว่าป่าเป็นอาหารของชาวชุมชนเรา เพราะว่าป๋าให้ทุกสิ่งทุกอย่างกับชุมชนเรา ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหน เราสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้มันเป็นอาชีพของเรา ที่อยู่กับป่า ป่าเลี้ยงเราเราก็ต้องเลี้ยงป่า
ภาพ/ข่าว ธนากร มณีศรี ผู้สื่อข่าว