ข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวภูมิภาค

บพท.จัดตั้งวิทยสถาน “ธัชภูมิ” มรภ.ชัยภูมิ เพื่อการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม หนุนทุนส่งเสริมการพัฒนานักวิจัย ร่วมขบวน 198 ปี ครั้งประวัติศาสตร์

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ประธานอนุกรรมการที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถาน “ธัชภูมิ” พร้อมคณะได้เดินทางมายังพื้นที่จังหวัดชัยภูมิเพื่อเยี่ยมชมวิทยสถาน “ธัชภูมิ” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบหมายให้ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ดําเนิน การจัดตั้ง วิทยสถาน “ธัชภูมิ” เพื่อการพัฒนาพื้นที่ เพื่อเป็นตัวเร่งและหนุนเสริมการพัฒนานักวิจัย และระบบจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่อาจจะมีข้อจํากัดด้านบุคลากรและทรัพยากรรวมถึงการเร่งยกระดับความรู้จากงานวิจัยเชิงพื้นที่ให้ขึ้นสู่ระดับทฤษฎีและกระบวนการสร้างความรู้ใหม่ (Theory & Epistemology) การสังเคราะห์ความรู้เพื่อเชื่อมโยงสู่นโยบายและพัฒนาวงวิชาการ ทั้งด้าน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนการสร้าง เครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการนําผลงานวิชาการไปขยายผลและการสร้างเครือข่ายวิชาการระหว่างประเทศ​มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มี 4 ภารกิจหลักซึ่ง 1 ในหน้าที่นั้น

คือทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการบริการวิชาการแก่ชุมชนในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งบุคลากรทุกคนต่างรับรู้ รับทราบและหรือมีส่วนร่วมในประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับฐานทุนความเชื่อและศรัทธาเจ้าพ่อพญาแลทั้งที่จัดโดยหน่วยงาน ของรัฐ- เอกชน และรวมถึงพ่อค้าประชาชนชาวเมืองชัยภูมิ ทั้งประเพณีและพิธีกรรมอันเกิดจากความเชื่อความศรัทธา อาทิเช่นการบวงสรวง การแก้บน การรำ-การเป่าแคนถวายเจ้าพ่อ ตลอดจนการสักการบูชาจากทั้งคนในชุมชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวจากต่างแดน ฐานทุนความเชื่อและศรัทธานี้นำมาซึ่งการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้และเศรษฐกิจชุมชนที่มีมูลค่ามหาศาล และมีช่องว่างของการเติบโตอีกจำนวนมาก อาทิเช่นฐานทุนความเชื่อและศรัทธาเจ้าพ่อพญาแลนี้สามารถเชื่อมต่อห่วงโซ่ใหม่ด้านงานประเพณีที่คนทั้งจังหวัดทุกอำเภอ ทุกตำบลต้องเข้าร่วมด้วยความเต็มใจรัก และภาคภูมิ เช่นประเพณีฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล ประเพณีบุญเดือนหก พิธีกรรมถวายช้างเจ้าพ่อพญาแล

ที่จัดโดยมีหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าภาพในการจัดงานประจำทุกปี ส่วนพิธีกรรมของชาวบ้าน มักเป็นพิธีกรรม เซ่นไหว้ถวายเลี้ยงหัวหมูเครื่องบวงสรวงเจ้าพ่อพญาแล ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อที่มี ต่อเจ้าพ่อพญาแลในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นทุกวัน มีบุคคลผู้ที่ปฏิบัติพิธี หรือผู้ประกอบการที่ทำเป็นอาชีพหลักหารายได้เลี้ยงชีพในสถานภาพต่างกันอย่างหลากหลาย ​มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และพี่น้องชาวชัยภูมิยินดีต้อนรับผู้ทรงคุณวุฒิจาก บพท. ภายใต้กรอบทุนวิจัย “ธัชภูมิ” เรื่อง การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนผ่านกลไกการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมความเชื่อ และศรัทธาเจ้าพ่อพญาแล “แห่บายศรีบุญเดือนหก” จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งในครั้งนี้ได้ร่วมขบวนพิธีแห่องค์เจ้าพ่อพญาแลขึ้นศาลหลังใหม่ ครั้งประวัติศาสตร์ ครบรอบ198ปี อีกด้วย

ทั้งกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สานนท์ ด่านภักดี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ขอบคุณคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) คือ 1. ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ประธานอนุกรรมการที่ปรึกษาการขับเคลื่อนวิทยสถาน “ธัชภูมิ” เพื่อการพัฒนาพื้นที่ 2. ดร.ธนภณ วัฒนกุล ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ 3. อ.ดร.วศิน โกมุท ผู้ทรงคุณวุฒิจาก ม.อุบลราชธานี 4. น.ส.รสริน คุณชม นักวิเคราะห์ (ฝ่ายธัชภูมิ) 5. นายปภังกร รังแก้วกิตติ เจ้าหน้าที่สนับสนุนอาวุโส และ6.ดร.คมกฤช ฤทธิ์ขจร เฮือนคำมุ พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณชัยภูมิ ที่ปรึกษาโครงการวิจัยฯ

โดยในครั้งนี้คณะวิจัยได้นำเสนอผลการดำเงินวิจัยที่ผ่านมากับผู้ทรงคุณวุฒิที่มาติดตามเยี่ยมชมโครงการพร้อมแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะต้นทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ ที่มีคุณค่ามาจากความเชื่อและศรัทธาเจ้าพ่อพญาแลฯ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับการสร้างแรงบันดาลใจในความภักดีต่อแผ่นดิน การเป็น Local hero และสามารถตีความไปสู่การสร้างความเป็นพลเมืองที่ดีในหมู่เยาวชน และสืบสานคุณค่าและความหมายเชิงสัญลักษณ์ของเจ้าพ่อพญาแล ที่มีความจงรักภักดี นำเรื่องกลับมาเล่าใหม่สืบสานคุณค่า ส่งเสริมใหเกิดขบวนของความรัก ชาติ รักท้องถิ่น อยากปกป้องแผ่นดิน และเพื่อยกระดับรายได้และผลกระทบทางเศรษฐกิจชุมชนจากการฟื้นฟูความเชื่อในประเพณี “แห่บายศรีบุญเดือนหก” จังหวัดชัยภูมิ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการวแบบมีส่วนร่วม (PAR) เก็บข้อมูลโดยวิธีการสังเกต การประชุมกลุ่มใหญ่-ย่อย การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และผ่านกระบวนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ดังนั้นเมื่อโครงการวิจัยเสร็จสิ้น

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาคือการรักษาสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมในจังหวัดชัยภูมิลูกหลานจะเป็นนวัตกรทางวัฒนธรรมสามารถพัฒนาผลักดันต่อยอดเป็น Soft Power ในพื้นที่ มีผู้ประกอบการวัฒนธรรมในชุมชนได้รับการยกระดับขีดสมรรถนะ .เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริการทางวัฒนธรรม 5 ผลิตภัณฑ์ เกิดฐานข้อมูลระบบสารสนเทศแผนที่วัฒนธรรม 1 ระบบ เกิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมที่สูงขึ้น เกิดภาคีเครือข่ายในการทำงานร่วมกันในพื้นที่ เกิด Platform ตลาดออนไลน์ การใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย เชิงวิชาการ และเชิงพาณิชย์ เกิดผลิตภัณฑ์ และเกิดบริการทางวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ประชาชนเพิ่มขึ้น 15 % อีกด้วย.

ภาพ-ข่าว มัฆวาน วรรณกุล จังหวัดชัยภูมิ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *