ข่าวภูมิภาค

ชัยภูมิ สุดยอดซอฟต์พาวเวอร์ผ้าขาวม้าขิด ลาย 11 สี ณ หมู่บ้านแห่นาคโหด หนึ่งเดียวในโลก

วันที่ 27 ตุลาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากเมื่อใครเดินทางผ่านมาถึงบริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านโนนเสลา หมู่ที่ 6 ต.หนองตู อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ จะพบเห็นรูปปั้น สัญลักษณ์ประเพณีแห่นาคโหด ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีโบราณที่มีหนึ่งเดียวในโลกในปัจจุบันก็ว่าได้ ที่ในตำบลหนองตูมจะมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือน 6 ของทุกปี ซึ่งเป็นประเพณีแห่นาคโหด หนึ่งเดียวในโลก ที่ชาวบ้านที่นี่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมายาวนานแต่โบราณ ที่จะใช้คนหนุ่มหามแคร่ไม้ไผ่แห่นาคไปรอบหมู่บ้านระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร พร้อมทั้งเขย่า-โยนนาคอย่างรุนแรงเพื่อความสนุกสนาน ที่ถือเป็นความเชื่อว่าเป็นการทดสอบความตั้งใจของผู้ที่จะบวชว่ามีความมุ่งมั่นที่จะบวชหรือไม่

โดยนาคต้องห้ามตกลงมาจากคานหามแคร่ไม้ไผ่ หากตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช ถือว่าเป็นการแสดงความอดทนกตัญญูทดแทนคุณบิดามารดาที่พากันดูแลบุตรที่กำลังจะเกิดมาตั้งท้องอุ้มท้องมานานกว่า 10 เดือน ก่อนที่จะคลอดออกมาได้ และการผ่านพิธีแห่นาคโหดได้ก็เป็นการที่แสดงว่าตนเองได้ผ่าฟันปัญหาอุปศักดิ์ที่ผ่านพิธีแห่นาคโหดไปให้ได้จนถึงพระอุโบสถผ่านเข้าพิธีเข้าไปบวชให้ได้ นอกจากที่บ้านโนนเสลา มีประเพณีแห่นาคโหดหนึ่งเดียวในโลกแล้ว ยังเป็นแหล่งทำการทอผ้าขิดขึ้นชื่อ จ.ชัยภูมิ เป็นแหล่งทอผ้าขิดที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดชัยภูมิของอำเภอภูเขียว มี 11 ตำบล บ้านโนนเสลา ต.หนองตูม ที่เป็นดินแดนแห่งประเพณีแห่นาคโหดหนึ่งเดียวในโลก

และรวมกลุ่มต่อยอดทอผ้าขาวม้าขิด 11 สี นำมาตัดเป็นทั้งเสื้อหลายรูปแบบ กระเป๋า และอื่นๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ด้วยลวดลายที่สวยงามมีเอกลักษณ์ประจำถิ่น ด้วยการทอผ้าขิด 11 สี ออกสู่ตลาดส่งขายไปทั่วประเทศ และชาวต่างชาติที่สนใจในปัจจุบันที่ผลิตขายแทบไม่ทัน และสามารถเป็นสินค้าซอฟต์พาวเวอร์ของชาว อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ สร้างรายได้รับกับชาวบ้านสมาชิกในพื้นที่กลุ่มมีรายได้แต่ละคนกว่า 10,000-30,000 บาทต่อเดือน

ในปัจจุบัน โดยชาวบ้านโนนเสลา ได้สืบทอดการทอผ้าขิดมาแต่รุ่นปู่ย่าตายายซึ่งทอผ้าใช้กันเองมาแต่โบราณทุกครัวเรือน และเริ่มมีการรวมกลุ่มสืบสานอนุรักษ์การทอผ้าขิดของที่นี่ตั้งเป็นกลุ่มทอผ้าขิดบ้านโนนเสลา มาตั้งแต่ปี 2521 เนื้อผ้าขิดที่ได้ถักทอขึ้นมาจนกลายเป็นของล้ำค่าประจำจังหวัดชัยภูมิ ขึ้นชื่อระดับประเทศโด่งดังไปถึงระดับโลกจนปัจจุบัน ที่มีได้สืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาการทอผ้าขิดมาแต่รุ่นปู่ย่าตายาย โดยจะทอผ้าใช้เองแทบทุกครัวเรือน มีการทอผ้าหลากหลายรูปแบบไว้สำหรับจำหน่าย ทั้งผ้าฝ้ายมัดหมี่ ผ้าขิดไหม ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ

นอกจากนี้แล้วยังมีผลิตภัณฑ์เครื่องใช้เพิ่มเติมที่ต่อยอดมาจากการทอผ้าขิดอีกด้วย อาทิเช่น กระเป๋าผ้า หมอนขิด เสื้อทั้งของสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ กล่องใส่กระดาษชำระ และอื่น ๆ คุณภาพที่ได้จากความตั้งใจในการถักทอของชาวบ้านที่นี่นั้น ลูกค้าที่นำไปใช้แล้วต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าคุ้มเกินราคาที่แลกกันหลายเท่าเลยทีเดียว มีเอกลักษณ์ที่ปัจจุบันนับว่าหาดูได้ยาก รวมไปถึงเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าที่มีชื่อเรียกว่า “กี่” ที่ทำมาจากไม้ตามแบบโบราณมาแต่ดั่งเดิมที่ยังคงอนุรักษ์อยู่ได้อีกด้วย ที่ในปัจจุบันหากนักท่องเที่ยว ผ่านเข้ามาในชุมชนที่นี่เมื่อเข้าไปยังหมู่บ้านโนนเสลา

ในช่วงนี้ จะพบเห็นขาวบ้านโนนเสลา ทั้งรุ่นหนุ่มสาว จนไปถึงรุ่นผู้สูงอายุ กำลังขะมักเขม่นทอผ้าขาวม้า 11 สี ที่ได้ส่งเสริมจากนายอำเภอภูเขียว หลายรูปแบบทั้งนำไปตัดเสื้อผ้าสำเร็จรูปหลายรูปแบบ ทั้งเสื้อพระราชทาน เสื้อเชิด เสื้อกั๊ก ผ้าพันคอ กระเป๋า ย่าม ร่มกันแดด 11 สี และอื่นๆสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ สู่เรื่องราวทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาชาวบ้านที่นี่มาตั้งแต่โบราณนับหลายร้อยปีสู่ Soft Power (ซอฟต์พาวเวอร์)ของ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ จากที่ชาวบ้านโนนเสลา เมื่อก่อนจะมีการทอแต่ผ้าฝ้ายเป็นลายผ้าขาวม้าตัดกันเป็นตาหมากรุก ขายเพียงผื่นละร้อยกว่าบาท ได้มีการทอลายขิดโบราณใส่ลงบนผืนผ้าขาวม้า 11 สี หมายถึง 11 ตำบล ของชาว อ.ภูเขียว เข้ามาเพิ่มเรื่องราวของลายขิดเข้าไปบนผ้าขาวม้าที่สวยงาม มีลวดลายแต่ละตำบลที่แตกต่างกันไปที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองหลายร้อยลาย ที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งผู้ออกแบบลายโบราณ ต้องแกะลายโบราณลงในกราฟตารางกระดาษ ถ่ายทอดลวดลายต่างๆลงบนผืนผ้าขาวม้า ที่ชาวบ้านโนนเสลา อ.ภูเขียว มี 3 กลุ่มหลักในการทอผ้าในหมู่บ้าน รวมถึง

กลุ่มทอผ้าขิดของ นางอุดร ขึมภูเขียว อายุ 52 ปี เป็นประธานกลุ่มท่อผ้าบ้านโนนเสลา ม.12 ต.หนองตูม มีสมาชิกในกลุ่มรวมกว่า 15 คน ทอผ้าขาวม้า 12 คน ทอผ้าคุมไหล่ 3 คน อีกทั้งยังมีเด็กเยาวชนได้ใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียน มาฝึกทั้ง ออกแบบลายผ้า แกะลายผ้า ฝึกท่อผ้าสืบทอดให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้จากรุ่นสู่รุ่นต่อไปไก้อีกด้วย โดย นางอุดร ขึมภูเขียว เล่าให้ว่า แต่ก่อนผ้าขาวม้าที่ท่อกันมีราคายังไม่สูงจะตกอยู่ผืนละ 150 บาท ที่ทออยู่ก็ลายเดิม ๆ รายได้แทบไม่พอกับรายจ่าย ขณะนี้ ได้นำเอาเทคนิคสี 11 สี เข้ามาใส่ในลายผ้าขาวม้า ให้เกิดเป็นสี สายรุ่งเรืองแสงสีสันสะดุดตา ผ้าแต่ละผืนที่ทอปัจจุบันผ้าขาวม้า 11 สี สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ในราคาผืนละ 300 บาท ถ้ามีลายขิดด้วยเพิ่มเข้าไปได้อีกก็จะได้ราคาถึงผืนละ 350-450 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ของผ้าขาวม้าแต่ละผืน จะนำไปตัดเป็นเสื้อหรือกระโปรงได้ 1 ชิ้นงาน เป็นที่นิยมของร้านตัดเสื้อผ้าในจังหวังชัยภูมิ

นำไปตัดเป็นสูท ชุดไทย กระเป๋า เครื่องใช้ต่างๆ อย่าแพร่หลายเป็นจำนวนมากในปัจจุบันอีกด้วย จนปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่มแต่ละคน จะทอผ้าสายรุ่งจำน่ายได้วันละ 1-2 ผืน ได้ค่าแรงทอผ้าขาวม้า 11 สี หรือผ้าขาวม้าสีรุ่ง ผืนละ 150 บาท ถ้ามีลายขิดด้วยก็จะได้ค่าแรงผืนละ 300 บาทต่อวันถ้าขยันหน่อยก็ได้ 2 ผืน 600 บาท ที่จะสร้างอาชีพเสริมหลักจากการทำไร่ ทำนา เมื่อกลับมาจากไร่นา ตอนค่ำ หรือกลางคืนก่อนเข้านอนก็จะใช้เวลาว่างในการทอผ้าขิด 11 สี ขณะนี้มีออเดอร์สั่งยกม้วนความยาวกว่า 40 เมตรขึ้นไป สั่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก แทบผลิตออกไม่ทันสู่ท้องตลาด ส่วนใครที่จะสั่งผ้าสายรุ่ง 11 สี ต้องการนำไปตัดเสื้อสวมใส่

ช่องทางออนไลน์ติดต่อได้ที่ กลุ่มภูขิตา โทร.066-1213998 เพจภูขิตา กลุ่มทอผ้าขิดโบราณ โทร.095-7920355 เฟซบุ๊ก จักรกฤษย์. ขวัญสำราญ กลุ่มย้อมสีธรรมชาติ โทร.081-0905215 เฟซบุ๊ก สุขุม ด้าน นายสนอง มะลัยขวัญ นายอำเภอภูเขียว ได้เล่าให้ฟังว่า คุณค่าทางวัฒนธรรมของชาว อ.ภูเขียว ที่นี่ประกอบด้วย 11 ตำบล มีแนวคิดนำชาวบ้านทั้ง 11 ตำบล ที่ทำอาชีพทอผ้าอยู่แล้ว เมื่อนำเอกลักษณ์ของแต่ท้องถิ่นถักทอให้เป็นผ้าขิด ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นสวยงามสู่สากลเป็นของฝากแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวประเพณีแห่นาคโหด แห่นาคโบราณ ประเพณีบุญกระธูป อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่เป็นการช่วยยกระดับคุณค่าความงดงามของผ้าขาวม้า 11 สี ของชาวบ้านที่นี่ยังสามารถสร้างรายได้ 300 -600 บาท ต่อคนต่อวัน ขึ้นอยู่กับความชำนาญและความขยันของแต่ละคน ทำงานที่บ้านอยู่กับครอบครัว ชีวิตก็มีความสุขอยู่กับแบบครบหน้าตาในครอบครัวได้อย่างยั่งยืนตามมาได้อีกด้วย โดยเฉพาะชาวบ้านโนนเสลา ต.หนองตูม อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ นอกจากจะมีประเพณีแห่นาคโหด หนึ่งเดียวในโลกแล้ว ยังมีผ้าขาวม้าสีรุ่ง หรือ 11 สี รอต้อนรับนักท่องเที่ยวหรือคนมาเที่ยวชมฝีมือการทอมือฝีมือชาวบ้านในพื้นที่สอดแทรกความสวยงามลงบนผืนผ้าขิดมีเฉพาะที่บ้านโนนเสลาแห่งนี้ได้เท่านั้น.

ภาพ-ข่าว มัฆวาน วรรณกุล จังหวัดชัยภูมิ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *