ข่าวทั่วไป

ชาวบ้านปลื้ม..รับมอบกระบือ โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ

วันที่ 18เมษายน2566 เวลา 10.30 น. ผู้สื่อข่าวประจำจ.สุรินทร์รายงานว่า ที่ลานหน้าวัดเเสนสำราญ บ.เเสนสำราญ ต.ตาวัง อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ได้มีการจัดพิธีมอบกระบือ โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดลุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้กับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ โดยมีนายสัตวเเพทย์อภิชัย นาคีสังข์ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานประกอบพิธีฯ นายบรรลุ สุวรรณดี ปลัดอวุโสรักษาราชการเเทนนายอำเภอบัวเชด นายเชษฐา สงวนศิริ ปศุสัตว์ อ.บัวเชดเเละคณะหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน ท้องถิ่นและเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมในพิธี ก่อนที่จะพาชาวบ้านได้ที่รับโค-กระบือ กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณ จะเลี้ยงดูแลโค-กระบือ ที่ได้รับพระราชทาน ในวันนี้ จะไม่นำไปทำอย่างอื่น จะเลี้ยงดูให้ดีที่สุดหากไม่ทำตามในคำสัตย์ปฏิญาณ ให้เกิดสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นมา แต่หากปฏิบัติตามคำสัตย์ปฏิญาณ จะทำให้ ชีวิตครอบครัวมีสุขความเจริญ

โดยโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน ได้มีโอกาสได้โค-กระบือ ไว้ใช้แรงงานเป็นของตนเอง โดยวิธีการเช่า/เช่าซื้อ หรือวิธีอื่นใด ในราคาที่ถูก ต่อมาระบบทำการเกษตรเปลี่ยนไป เกษตรกรหันมาใช้เครื่องจักร ทดแทนแรงงานสัตว์มากขึ้น จึงได้เปลี่ยนรูปแบบดำเนินโครงการ เป็นการให้ยืมเพื่อการผลิต และการเลี้ยงในเชิงอนุรักษ์ เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างมากที่เกษตรกรในพื้นที่ของเรา ได้รับการพิจารณาให้ได้รับมอบโค กระบือ พระราชทาน ซึ่งเป็นช่องทางในการขยายพันธุ์ต่อไป สามารถสร้างงานสร้างอาชีพได้ในอนาคต

ในการมอบ โค กระบือ ให้เกษตรกร ใน ครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนแม่พันธุ์ทั้งหมด 27 ตัว มูลค่า 810,000 บาท โดยแม่พันธุ์ที่ยืมไป 1 ตัว มีสัญญาระยะเวลา 5 ปี เมื่อลูกตัวแรกอายุ 18 เดือน จะต้องคืนตัวแรกให้โครงการ ลูกตัวที่เหลือจากนั้นหากมีการแพร่พันธุ์อีกกรรมสิทธิ์ถึงจะเป็นของเกษตรเอง เมื่อครบ 5 ปี จะมอบสิทธิแม่กระบือ และให้เกษตรกรอื่นต่อไป แม่พันธุ์ทั้งหมดที่นำมามอบในวันนี้ผ่านการกักกันโรคครบตามระเบียบ 15 วัน

โดยมีนายสัตวเเพทย์อภิชัย นาคีสังข์ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์กล่าวเป็นเรื่องน่ายินดีที่ทางคณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกรที่ได้รับมอบ เล็งเห็นความสำคัญของเกษตรกรในพื้นที่ เนื่องจากการคัดเลือกแต่ละครั้งจะต้องมีองค์ประกอบในหลายด้านในการตัดสิน หากเกษตรกรในพื้นที่เองไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถเลี้ยงดูแม่พันธุ์ได้ตามหลักเกณฑ์ ก็คงจะไม่สามารถได้รับมอบเป็นครั้งที่ 2 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเกษตรกรในพื้นที่บ้านเราเป็นอย่างดี และจะเป็นต้นแบบไปยังพื้นที่อื่นต่อไป จะช่วยส่งเสริมในด้านการอนุรักษ์พันธุ์โค กระบือ ทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์เป็นปุ๋ยได้ ลดต้นทุนในด้านการเกษตรของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี ”.

พุนสิน ยั่งยืน รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *