ข่าวภูมิภาค

อลังการงานผีของชาวจังหวัดเลยเป็นที่รู้จักอนุรักษ์สืบทอดกันมายาวนานนับร้อยปี ได้แก่ผีตาโขน อ.ด่านซ้าย  ผีบุ้งเต้า อ.ภูเรือ และ ผีขนน้ำอ.เชียงคาน

เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 12 ก.ค. 67 นายวิชิต  ทำทิพย์  รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาซ่าว  เล่าว่า  ชาวบ้านนาซ่าว แต่เดิมเป็นคนไทยพวน อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว 8 ครอบครัว มาตั้งหลักปักฐานเพื่อทำเกษตรกรรมที่ นาซำหว้า หมู่ 1  หรือบ้านนาซ่าวในปัจจุบัน และขยายครอบครัว เป็นชุมชนใหญ่ขึ้นเรื่อย  และในสมัยนั้นชาวบ้านยังไม่มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงนับถือผีบรรพบุรุษและผีปู่ย่า และเชื่อกันว่าการเล่นผีขนน้ำ คือพิธีกรรมไหว้ผีบรรพบุรุษที่ชาวบ้านรวมตัวกันจัดขึ้น หรือเรียกว่า “เลี้ยงบ้าน” เพื่อแสดงความเคารพและตอบแทนบุญคุณ “ผีเจ้าปู่” ที่ให้ความคุ้มครองให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข เพื่อเป็นการขอฝนในวิถีชีวิตเกษตรกรรมที่สืบทอดกันมากว่า 300 ปี และมีพืชผลอุดมสมบูรณ์ แต่เดิมการบวงสรวงนั้น จะมีการนำวัว ควาย มาเพื่อเป็นเครื่องเซ่นสังเวยตามพิธีกรรม แต่ในเวลาต่อมา ผีเจ้าปู่ได้บอกความผ่านร่างทรงว่าให้ชาวบ้านทำ “แมงหน้างาม” หรือ “ผีขน” ขึ้น แทนการนำ วัว ควาย ซึ่งมีบุญคุณต่อชาวบ้านมาฆ่าเพื่อเป็นเครื่องสังเวยบูชา รวมถึงยังเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลตอบแทนบุญคุณของวัว ควาย ที่มีต่อชาวบ้านอีกทางหนึ่งด้วย อีกหนึ่งความเชื่อคือ ชาวบ้านเชื่อกันว่า “ผีขนน้ำ” เป็นวิญญาณของสัตว์จำพวก วัว ควาย ที่ตายไปแล้วยังล่องลอยวนเวียนอยู่ตามที่เคยอาศัย เพราะมักจะมีคนได้ยินเสียงกระดึงหรือกระดิ่ง พบแต่ขนไม่เห็นตัวตน จึงเรียกว่า  “ผีขนวัว ผีขนควาย” ในยุคแรกๆ ชาวบ้านจะพากันเรียกผีขนน้ำว่า “การละเล่นผีขน” แต่ทุกครั้งหลังจบการละเล่นผีขนฝนมักจะตก ชาวบ้านจึงพากันเปลี่ยนเรียกว่า “ผีขนน้ำ” เพราะขนน้ำมาจากฟ้า จนกลายเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากจนทุกวันนี้ สำหรับวันที่ใช้ละเล่นผีขนน้ำในปัจจุบัน

 “.ผีขนน้ำ” หรือชื่อเรียกอีกแบบหนึ่งว่า “แมงหน้างาม” การละเล่นพื้นบ้านที่สืบสานกันมายาวนานของชาวบ้านนาซ่าว ต.นาซ่าว ฯ กำหนดจัดขึ้นในวันแรม 1-3 ค่ำเดือน 6   ณ วัดโพธิ์ศรี ต.นาซ่าว อ.เชียงคาน  จ.เลย เป็นการละเล่นที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวนาซ่าว  ด้านการทำและตกแต่งหน้ากากผีขนน้ำ นั้น ชาวบ้านจะนำเอาไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้นุ่น ไม้ตีนเป็ด ฯลฯ มีตากแดด 3-4 วันให้แห้งดีแล้วก็มาถากมาแกะ ทาสีให้สวยงาม เป็นหน้ากากให้รูปหน้าคล้ายๆ วัว ควาย บนหน้ากากวาดเป็นรูปผีน่ากลัว ตาโต จมูกโต ฟันใหญ่  ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะวาดลวดลายลงสีต่างๆ เช่น ลายบัวเครือ ลายผักแว่น ตามความเชื่อและจินตนาการเพื่อให้ดูน่ากลัวพร้อมแต้ม ทาสี ลวดลายสีสันสวยงาม อีกด้วย 

ส่วนชุดที่สวมใส่นั้น…ชาวบ้านจำทำกันเอง มีกลุ่มๆจัดทำ เครื่องแต่งกายของผีขนน้ำจะใช้เศษผ้า เสื้อผ้า หรือผ้าที่นอนเก่าๆ ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นตัวเสื้อเพื่อให้นุ่นที่ติดอยู่กับที่นอนนั้นฟุ้งกระจายไปทั่วขณะที่เต้นรำ ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เศษผ้าตัดเป็นริ้วๆ ประดับตามตัวให้เหมือนขนใช้เศษผ้าเก่าหลากสี   นำมาตัด มาเย็บเป็นชุดสวมใส่คลุมร่างกายให้มิดชิด สวยงามหลากสี  และมี “กระดึง” .หรือกระดิ่งที่ใช้คล้องคอของวัว-ควายมามัดมาผูกที่เอว  เพื่อมีเสียงดังได้จังหวะการเดินการเต้นจะไพเราะครื้นเครงไปด้วย.แต่ละชุดหากเป็นเงินก็ 800 บาท/ชุด  ซึ่งมีประชาชน นทท.มาชมมาศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ผีขนน้ำในหมู่บ้านมาซื้อไปเป็นที่ ระลึกไปประดับที่บ้านเรือนของคน

“การละเล่นผีขนน้ำ” เป็นความเชื่อ ความศรัทธา และวิถีชีวิตของชาวบ้านนาซ่าว และยังเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาราวสามร้อยกว่าปีและมีแห่งเดียวที่ อ.เชียงคาน จ.เลยที่สอง คือ วันแห่ ชาวบ้านจะออกไปร่วมกันทำพิธี “ครอบเจ้าปู่”

 คำว่า ครอบ หมายถึง คาราวะ ซึ่งประกอบพิธีกันที่ดอนหอ “ศาลเจ้าปู่”บ้านนาซ่าวที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผีขนน้ำด้วย   ของหมู่บ้าน ถวายบั้งไฟ 5 กระบอก (ชาวบ้านเรียก มะเขี่ย) ซึ่งประกอบไปด้วยนางเทียมร่างทรงเจ้าปู่ นางแต่ง จ้ำและผู้มาร่วมพิธีอย่างสนุกสนาน จากนั้นผีขนน้ำก็จะออกเดินเล่นรอบหมู่บ้าน ตีร้องเล่นเต้นรำตามจังหวะเพื่อรอกำหนดแห่วัดเข้าโพธิ์ศรี เมื่อถึงเวลากำหนด ผีขนน้ำจะไปรวมตัวกันที่จุดนัดหมายบริเวณบ้านนาซ่าวรอจนกว่าผีขนน้ำแต่ละคุ้มมาครบแล้วจึงเริ่มแห่ขบวนเข้าไปในวัดซึ่งประกอบไปด้วย นางเทียม ผู้เป็นร่างทรงเจ้าปู่ นางแต่ง และขบวนผีขนน้ำ ขบวนบั้งไฟ ขบวนตีฆ้องตีกลองร้องรำทำเพลงให้ขบวนนางเทียม นางแต่งได้ฟ้อนรำ ส่วนผีขนก็จะเต้นรำไปตามจังหวะกลองโดยจะเป็นการฟ้อนที่ไม่มีกำหนดตายตัว ทำตัวให้เหมือนผีมากที่สุดแต่ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์สร้างท่าต่างๆนำมาใช้ในการเต้นรำ มี 7 ท่า เช่น ท่าครอบเจ้าปู่ เป็นต้น เมื่อเสร็จขบวนแห่รอบโบสถ์ออกจากวัดโพธิ์ศรีไปยังศาลเจ้าปู่บ้านนาซ่าวเพื่อนำบั้งไฟน้อยห้าบั้งจุดบูชาเจ้าปู่ เพื่อขอให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาลตามความเชื่อของชาวบ้านที่ปฏิบัติมาเมื่อถึงวันที่สาม วันสุดท้ายของงาน ก็จะเป็นวันทำบุญตักบาตรที่วัดและถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ มีการแสดงพระธรรมเทศนาให้ศีลให้พรชาวบ้าน ทำอุทิศส่วนกุศลให้ผีวัวผีควาย และที่สำคัญคือ “การแห่กัณฑ์หลอน” คือแห่ปัจจัยต่างๆถวายวัด เพื่อบำรุงวัดวาอารามให้เจริญรุ่งเรือง ซึ่งเป็นวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สืบทอดต่อๆ กันมา

นับเป็นเวลาเนิ่นนานที่การเล่นผีขนน้ำที่บ้านนาซ่าวอาจถูกละเลยไปบ้าง แต่สิ่งสำคัญคือความสามัคคีของคนบ้านนาซ่าวที่ยังคงยึดมั่นสืบทอดปฏิบัติทุกปี จึงทำให้การเล่นผีขนน้ำบ้านนาซ่าวนั้นกลับมาฟื้นฟู มีความโดดเด่น และที่สำคัญยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมให้คงอยู่ แสดงถึงความเชื่อ พลังศรัทธา และความสนุกสนานของการละเล่นผีขนน้ำบ้านนาซ่าว ที่ทำให้ผู้มาเยี่ยมเยียนประทับใจมิรู้ลืม

สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดเลย โทร. 042 81-1405,042 812812 และนายวิชิต ทำทิพย์ 095 2900 950

ข่าว/ภาพ บุญชู  ศรีไตรภพ  จ.เลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *