สีสันบุญลอมข้าว วิถีชาวนาทั้งนวดข้าวซัดมัดฟางข้าวใส่หลักเป่าปี่ตอซังข้าว
วันนี้ (14ธ.ค.66) ทีมข่าวจะพาไปชมสีสันความสนุกสนานในงานบุญลอมข้าว ที่อาจารย์โสโชค สู้โนนตาด ข้าราชการครูบำนาญ นำญาติพี่น้อง และชาวบ้านสืบทอดประเพณีบุญล้อมข้าว ขึ้นทุ่งนาปลูกข้าวศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง บ้านหนองบัวขาว ต.ชีลอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ซึ่งประเพณีบุญลอมข้าวใหญ่ ในอดีตหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแบบดั่งเดิม จะใช้คนเกี่ยว หาบข้าวมากองไว้ สร้างเป็นลอมข้าว ตากข้าวให้แห้งไม่ให้มีความชื้น จากนั้นจะมีการทำพิธีทำบุญลอมข้าว และไหว้ผีตาแฮก หรือผีไร่ผีนา ก่อนจะมีการนวดข้าวให้เป็นเมล็ดข้าวเปลือกนำไปใสไว้ในยุ้งฉางเก็บข้าวภายในหมู่บ้าน และระหว่างนำข้าวขึ้นลอมข้าวและพิธีการไหว้ผีตาแฮก ผู้สูงอายุจะมาร่วมในงาน ร้องหมอรำ เป่าแคน ร่วมกับเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน เป็นวิถีเกษตรกรรมของชาวอีสานมาช้านาน ด้วยสำนึกในบุญคุณของข้าวที่ได้หล่อเลี้ยงชีวิตคนทุกคน นอกจากนี้ยังเป็นการ แสดงออกถึงพลังความสามัคคี ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ของชุมชน เพื่อสืบทอดจิตวิญญาณที่กล้าแกร่งของชาวนา มีการทำพิธีพราหมณ์บายศรีสู่ขวัญข้าวทุกปี เพราะชาวนาเชื่อว่า แม่พระโพสพมีอำนาจที่สามารถดลบันดาล ให้ข้าวเจริญงอกงามและนำความอุดมสมบูรณ์มาให้ชาวนาที่บูชาเทวีแห่งข้าว ชาวนาจึงมีพิธีบูชาแม่พระโพสพ ก่อนที่จะลงมือทำนา หรือระหว่างตกกล้าจนข้าวตั้งท้องออกรวงไปจนถึงการเก็บเกี่ยว การทำพิธีบูชาพระแม่โพสพ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมทำพิธีบูชาแม่พระโพสพเพื่อขอขมาจะได้เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัวให้มีแต่ความสุข
ซึ่งก่อนจะมีการนวดข้าวจะมีพิธีการที่สำคัญคือการทำบุญล้อมข้าวและเลี้ยงผีตาแฮง ที่เฝ้าไร่นาข้าวให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเชิญผู้สูงอายุในหมู่บ้านและหมอพราหมณ์มาประกอบพิธีเรียกขวัญข้าว เลี้ยงผีตาแฮก ให้ช่วยปกปักรักษาพื้นที่นาปลูกข้าว ในปีไหนหากลืมประกอบพิธีจะมีความรู้สึกว่าขาดอะไรไปสักอย่าง นอนไม่ค่อยหลับ และเกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย ต้องไปประกอบพิธีแก้ จากนั้นจะรู้สึกว่าสบายตัว ประกอบอาชีพอะไรราบรื่นไปหมด ซึ่งอยากให้ชาวอีสานได้คงวิถีชีวิตในการทำลอมข้าว ประเพณีอันดีงามให้คงอยู่ตลอดไป
.
งานนี้เห็นจะไม่พลาดได้จัดให้มีการประลองฝีมือในการนวดข้าวแบบประเพณีโบราณ นวดข้าวเสร็จต้องซัดมัดฟางข้าว ไปยังเหลาไม้ไผ่ที่ปักไว้ด้านหน้าบริเวณนวดข้าว ที่ดูแล้วเหมือนจะง่าย แต่เมื่อดูแต่ละคนที่นวดข้าวเสร็จได้ซัดฟางข้าว ส่วนใหญ่จะไม่ตรงไปยังเหลาไม่ไผ่ที่ปักไว้ แต่ก็บางคนซัดมัดฟางข้าวตรงเป้าพอดี เรียกเสียงฮื้อฮาของผู้ร่วมนวดข้าวได้เป็นอย่างดี แต่ส่วนใหญ่จะไม่ตรงเป้าเหลาไม่ไผ่ที่ปักไว้ สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ร่วมในประเพณีบุญล้อมข้าวเป็นอย่างดี หลังนวดข้าวเสร็จยังได้จัดแข่งขันเป่าปี่ตอซังข้าวด้วย มีผู้แข่งขัน 5 คน กติกาเป่าปีตอซังข้าวพร้อมกัน ใครเป่ามีเสียงดังออกจากปีตอซังข้าว คนนั้นชนะ ไปชมบรรยากาศความสนุกสนาน ทั้งการนวดข้าว ซัดมัดฟางข้าวไปยังเหลาไม่ไผ่ และข่างขันเป่าปีต่อซังข้าว
ภาพ/ข่าว มัฆวาน วรรณกุล ผู้สื่อข่าว จ.ชัยภูมิ