ครูสาวชาวกาฬสินธุ์ หารายได้เสริม เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า ขายเดือนละเกือบ 5 หมื่นบาท
วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 ที่ครูจีฟาร์มเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า ต.เหนือ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ นายสำลี ศรีเจริญ อายุ 57 ปี พร้อมนางสาววจี ศรีจรัญ หรือครูจี อายุ 36 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 6 ต.เหนือ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ลูกสาว และครอบครัวกำลังให้คำปรึกษาแนะนำให้ความรู้ และสาธิตวิธีการเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้าให้กับผู้ที่มีความสนใจในการนำไปประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
นายสำลี ศรีเจริญ อายุ 57 ปี กล่าวว่า ครอบครัวมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดประมาณ 10 ปี ด้วยการทำนาเป็นหลัก ทั้งนาปีและนาปรัง หลังว่างเว้นจากทำนาแล้ว มีอาชีพเสริมคือเผาถ่ายขาย มีรถไถนาออกรับจ้างไถนาให้กับชาวบ้านในท้องถิ่น และมีไร่ปลูกมันสำปะหลัง และรับเหมาเช่าพื้นที่ปลูกไร่ปลูกมันสำปะหลังควบคู่ไปกับการทำนา ทำให้มีชีวิตที่พออยู่ได้ไม่ลำบากมากนัก ส่วนการหันมาเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า พันธุ์โมจีนนั้น เลี้ยงง่ายโตไวทันใจดี เพราะตั๊กแตนเป็นสัตว์กินพืชจำพวกหญ้า เช่น หญ้าเนเปียที่มีโปรตีนสูงต้องเตรียมไว้ให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตในช่วงวัยของตั๊กแตนเพื่อให้มีความสมบูรณ์เหมาะกับการบริโภคที่ส่วนมาก จะนำไปทอดกรอบเป็นเครื่องเคียง อาหารกินเล่นที่มีโปรตีนสูงราคาไม่เพียงบริโภคได้ทุกวัย
นายสำลี ศรีเจริญ กล่าวต่อว่า สำหรับขั้นตอนการเลี้ยงนั้นคือ ต้องมีมุ้งหรือตาข่าย ที่มีสภาพโปร่งแสง ทำให้อากาศถ่ายเทดีจะทำให้ตั๊กแตนโตเติมวัยอย่างรวดเร็ว สิ่งที่สำคัญที่สุดเน้นความสะอาดเป็นหลัก ตั๊กแตนเป็นแมลงที่มีศัตรูคือมด และสัตว์ปลีก และสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชอบอยู่กลางแจ้งเวลามีฝนตกต้องนำผ้าพลาสติกหรือแผ่นยางพารานำมาคุมหรือทำเป็นหลังคาแบบที่ทำ ทำให้การดูแลเลี้ยงดูง่ายขึ้นถ้าวางที่พื้นดินทำให้มุ้งมีความสกปรก ให้ห่างไกลจากสารเคมีทั้งหมด เพราะอาจจะทำให้ตั๊กแตนตายได้ ถ้ามีกลิ่นจากสารเคมี
โดยหลังจากเลี้ยงไปประมาณ 25 วันก็สามารถขายเป็นตัวที่นำไปประกอบอาหารได้เลย ราคา 500 บาทต่อกิโลกรัม ถ้าขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ประมาณ 35 วันเพราะต้องให้วางไข่ในภาชนะที่เตรียมไว้หลังจากผสมพันธุ์จำหน่ายไข่ตั๊กแตนโดยทางฟาร์มขายในกิโลกรัมละ 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) ขายขีดละ 1,000 บาท โดยไข่ตั๊กแตนนั้นจะมีทั้งตัวผู้และตัวเมียคละเคล้ากัน ในช่วงฟักตัวประมาณ 15 วันก็แยกเพศได้ โดยมีจุดสังเกตที่ตัวเมียจะตัวใหญ่กว่าตัวผู้ ต้องเฉลี่ยให้พอเหมาะกับสถานที่ทำการเพาะเลี้ยงระหว่างตัวผู้และตัวเมีย ในส่วนของการจำหน่ายนั้นจะทำการขายภายในหมู่บ้าน ซึ่งก็ไม่เพียงพอ ส่วนอีกช่องทางหนึ่งก็จะขายออนไลน์ในสื่อโซเชียลโดยลูกสาวและลูกเขยเป็นผู้จัดส่งให้ลูกค้า
ด้านนางสาว วจี ศรีจรัญ กล่าวว่า ปกติมีอาชีพเป็นครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในตัวเมือง จ.กาฬสินธุ์ ในส่วนของความสนใจเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้าพันธุ์โมจีนนั้น สืบเนื่องมาจากการเล่นสื่อโซเชียลพบเพื่อนในเฟสบุ๊คที่เป็นลูกศิษย์ที่อยู่ จ.สุรินทร์ เลี้ยงอยู่ก่อนแล้ว จึงมีความสนใจและต้องการนำมาเลี้ยงดูเองบ้าง หลังลูกศิษย์ให้คำปรึกษาว่า สามารถเลี้ยงได้ในทุกพื้นที่ เลี้ยงง่ายโตไว้ มีแค่ให้หญ้าเป็นอาหารซึ่งที่บ้านก็มีไร่นาที่มีหญ้าจำพวก หญ้าเนเปียไว้อยู่แล้ว จึงทดลองเลี้ยงดู หลังจากเลี้ยงไปประมาณเดือนเศษ ตั๊กแตนที่เลี้ยงก็โตเติมวัยพร้อมออกจำหน่ายให้กับผู้บริโภคที่มีความชื้นชอบในรสชาติ ในส่วนการตลาดในช่วงนี้ ตั๊กแตนไม่พอจำหน่ายให้ทันต่อความต้องการของตลาดทั้งในส่วนของไข่และพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หรือในส่วนของตัวตั๊กแตนเอง
อย่างไร่ก็ตาม ในช่วงแรกที่เลี้ยงลงทุนประมาณ 7,000 บาท หลังจากทดลองเลี้ยงดูเดือนแรกมีรายได้ประมาณ 4 หมื่นกว่าบาท ขายครบวงจรทั้งพันธุ์ทั้งไข่และตัวตั๊กแตนเอง ถ้ามีสนใจที่จะนำไปเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักสามารถเข้าไปศึกษาได้ที่ เพจ ปาทังก้ากาฬสินธุ์ ครูจีฟาร์ม หรือ เข้ามาดูที่ฟาร์มครูจีฟาร์มเลย สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-8858-2866-9 , 0-8089-7508-9.