ข่าวภูมิภาค

เลย ม.ราชภัฏเลย จัดแถลงข่าว กินดีมีสุข สู่การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

วันที่ 11 ธ.ค 2567 ณ โรงแรมมาร์เบิ้ลอาร์ชเดอเลย ถนนเลย-เชียงคาน อ.เมือง จ.เลย นายจักรกฤษณ์ พงษ์อินทร์วงศ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยร่าชภัฎเลยฝ่ายแผนงาน/โครงการ นายไพรินทร์ ลิ่มเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ผู้แทน นายแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย นายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย น.ส.เบญจมาภรณ์ ฉัตรคำ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว ผู้แทน ททท.สนง.เลย และมี ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมแถลงข่าว“อาหารกินดีมีสุข” โครงการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารรายใหม่ ด้วยแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอาหารกินดีมีสุข (Well-being Gastronomy Tourism) สู่การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณี พฤกษา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กล่าวรายงานภาพรวมของโครงการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารรายใหม่ ด้วยแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอาหารกินดีมีสุข (Well-being Gastronomy Tourism) สู่การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ว่า เป็นโครงการงบบูรณาการ Flagship project ประจำปีงบประมาณ 2567 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการประกอบด้วย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารกินดีมีสุข (Food Well-being) จากรายการอาหารที่เป็นอัตลักษณ์ในพื้นที่ 3 อำเภอที่เป็นเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย ได้แก่ อ.เมืองเลย เชียงคาน และด่านซ้าย อย่างน้อย 9 รายการ และเพื่อยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา 1 ประเภท เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารรายใหม่ (Innovative Food) ที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในจังหวัดเลยอย่างน้อย 6 ราย เพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารกินดีมีสุขใน 4 มิติ ได้แก่ สุขภาพทางกาย (Physical Well-being) สุขภาพใจ (Mind Well-being) สังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Well-being) และปัญญา หรือความรอบรู้ทางโภชนาการ (Wisdom Well-being) ที่สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว จำนวน 6 กิจกรรม และสื่อสร้างสรรค์ที่ช่วยสร้างการรับรู้ และกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงอาหารกินดีมีสุข (Well-being Gastronomy Tourism) รวมทั้งการสร้างการรับรู้และส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารให้กับนักท่องเที่ยวผ่านการจัดนิทรรศการ จำนวน 1 ครั้ง และเผยแพร่กิจกรรมผ่านสื่อสร้างสรรค์ช่องทางการตลาดออนไลน์ จำนวน 2 ช่องทาง และ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ผู้ประกอบการผ่านการอบรมให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการ 1 ครั้ง

การดำเนินโครงการเน้นการประสานความร่วมมือระหว่างคณาจารย์ในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมืออาชีพที่มีชื่อเสียงทางด้านอาหาร ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเลย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในจังหวัดเลย โดยดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม –ธันวาคม 2567 ผลการดำเนินโครงการ คือ ผู้ประกอบการร้านอาหารที่ ในพื้นที่ 3 อำเภอ จังหวัดเลย ได้แก่ อ.เมืองเลย เชียงคาน และด่านซ้าย เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 6 ราย และผลผลิตจากการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารกินดีมีสุข (Food Well-being) จากรายการอาหารที่เป็นอัตลักษณ์ มีจำนวน 14 เมนูอาหาร ด้วยกัน.

ภาพ-ข่าว บุญชู ศรีไตรภพ จังหวัดเลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *